การคำนวนหา ROI
เพราะธุรกิจไม่ใช่องค์กรการกุศลทุกๆการลงทุนจึงหวังผลตอบแทนเป็นเรื่องธรรมดา ซึ่งการลงทุนในแต่ละครั้งนั้นเรื่องของความคุ้มค่าในเม็ดเงินที่ลงขันถือเป็นหัวข้อสำคัญที่จะถูกนำมาหยิบยกพิจารณาเป็นอันดับแรกในการประชุม ซึ่งหากเป็นในอดีตการที่จะหาผลลัพธ์ของการลงทุนถือเป็นเรื่องที่ยากมากเพราะปัจจัยพื้นฐานที่ใช้ในการคำนวณยังไม่เอื้ออำนวยเท่าที่ควร แถมทฤษฎีการแทนค่าตัวแปรต่างๆยังคลาดเคลื่อนอีกด้วย ทำให้การลงทุนในสมัยก่อนใช้วิธีการ “ไปตายเอาดาบหน้า” เป็นหลัก จึงมักจะสร้างผลเสียและทำให้การทำธุรกิจประสบกับความล้มเหลวเป็นส่วนใหญ่
แต่ในปัจจุบันนักเศรษฐศาสตร์ได้คิดค้นวิธีการคำนวณหาค่าการตอบแทนจากการลงทุนหรือที่เรียกกันว่า ROI (Return on Investmen) ซึ่งให้ค่าการประเมินตรวจสอบที่มีความเที่ยงตรงและทรงประสิทธิภาพมาก โดยมีวิธีการดังต่อไปนี้
สิ่งแรกที่ผู้ประกอบการต้องทำก็คือจะต้องหาต้นทุนทั้งหมดของโครงการทางธุรกิจที่คุณมีแผนจะดำเนินงานในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นค่าวัตถุดิบ ค่าแรงงาน ค่าบรรจุภัณฑ์ ฯลฯ เป็นต้น ตัวอย่างเช่น ผู้ประกอบการมีแผนจะดำเนินการขายน้ำส้มคั้นบรรจุขวดจำนวน 100 ขวด ผู้ประกอบการจะต้องรวบรวมต้นทุนทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นค่าส้ม ค่าขวด ค่าอุปกรณ์ ค่าแรงงาน สมมติว่าค่าต้นทุนตกอยู่ที่ประมาณขวดละ 12 บาท ต้นทุนสุทธิในการทำธุรกิจจะเกิดขึ้นโดยทันทีและจะมีสนนราคาอยู่ที่ 1,200 บาท (100 x 12)
หลังจากได้ต้นทุนทางธุรกิจมาแล้วสิ่งสำคัญลำดับต่อมาที่ผู้ประกอบการจะต้องทำก็คือ การประเมินและคำนวณหารายรับรวมถึงผลกำไรจากการทำธุรกิจที่คุณคาดหวังจะได้รับ ในที่นี้คุณจะต้องกำหนดราคาและปริมาณยอดจำหน่ายเป้าหมายที่ต้องการเอาไว้ล่วงหน้าด้วย โดยใช้การคำนวณจากปัจจัยพื้นฐานในเรื่องต่างๆทางธุรกิจเพื่อให้เกิดความคุ้มค่าในการลงทุนมากที่สุด เช่น คุณกำหนดราคาขายของน้ำส้มคั้นไว้ที่ขวดละ 20 บาท และวางเป้าการจำหน่ายให้ได้ครบทั้ง 100 ขวด เท่ากับว่าคุณจะมีรายรับทั้งสิ้น 2,000 บาท โดยหลังหักค่าใช้จ่ายจะมีกำไรสุทธิอยู่ที่ 800 บาท ต่อการลงทุนในครั้งนี้ อนึ่งผู้ประกอบการสามารถตั้งราคาและกำหนดยอดจำหน่ายให้น้อยลงกว่านี้ก็ได้ แต่นั่นจะไม่ตรงกับวัตถุประสงค์หลักในการทำธุรกิจที่วางเป้าจำหน่ายไว้น้อยกว่าเป้าการผลิต ที่ควรจะเป็นนั่นเอง
เมื่อได้ปัจจัยทั้งในส่วนของต้นทุนและรายรับมาแล้วก็มาถึงวิธีการคำนวณเพื่อหาค่าตอบแทนจากการลงทุน โดยให้ผู้ประกอบการนำปัจจัยทั้ง 2 ส่วนที่ได้มาแทนค่าด้วยหลักสมการด้านบน คือ ให้นำรายรับมาลบด้วยต้นทุนได้ผลลัพธ์เท่าไหร่ให้นำมาหารด้วยต้นทุนอีกหนึ่งครั้งแล้วนำไปคูณด้วย 100 อาทิ จากตัวอย่างธุรกิจน้ำส้มคั้นที่หากจำหน่ายได้ยอดครบทั้ง 100 ขวด จะมีรายรับอยู่ที่ 2,000 บาท และมีต้นทุนผลิตภัณฑ์อยู่ที่ 1,200 บาท (ต้นทุนขวดละ 12 บาท) เมื่อนำมาแทนค่าตามสมการจะได้
2,000 – 1,200 = 800 บาท
แล้วนำผลลัพธ์ที่ได้ไปหารด้วยต้นทุนอีกหนึ่งครั้ง
800 / 1,200 = 0.66
จากนั้นนำผลลัพธ์ในขั้นตอนนี้ไปคูณด้วย 100 อีกหนึ่งครั้ง ผลลัพธ์ที่ได้ในขั้นตอนสุดท้ายก็คือเปอร์เซ็นต์เฉลี่ยค่าตอบแทนจากการลงทุนหรือที่เรียกว่า ROI นั่นเอง
0.66 x100 = 66 %
จะเห็นได้ว่าเปอร์เซ็นต์ค่าเฉลี่ยจากการคำนวณค่าการตอบแทนจากการลงทุนทำธุรกิจน้ำส้มคั้นมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่เพียง 66% เท่านั้น ซึ่งถึงแม้ตัวเลขที่ได้จะมีค่าที่สูงกว่าครึ่งแต่ในทางธุรกิจแล้วค่าเฉลี่ยที่ได้นี้ถือว่ามีเปอร์เซ็นต์ที่น้อยมากเกินไป เพราะค่า ROI ควรจะต้องมีค่าสูงนับตั้งแต่ 100% ขึ้นไปถึงจะถือว่ามีความคุ้มค่าต่อการน่าลงทุน โดยทางแก้มีอยู่ 2 วิธีเท่านั้น คือ ต้องลดค่าต้นทุนการผลิตให้ต่ำลงอีก หรือ ไม่งั้นก็เพิ่มรายรับให้เพิ่มสูงขึ้นด้วยวิธีการเพิ่มราคาจำหน่ายให้สูงขึ้น จึงจะเป็นวิธีการแก้ปัญหาที่ถูกจุดและสามารถเพิ่มค่า ROI ให้เพิ่มสูงขึ้นได้
ทุกๆการลงทุนมีความเสี่ยงและความเสี่ยงที่ว่านี้ก็ถือเป็นของแสลงทางธุรกิจที่ผู้ประกอบการควรจะต้องหลีกหนีให้ไกลที่สุด เพราะความเสี่ยงเป็นอะไรที่ไม่มีความแน่นอนและอาจสร้างความช้ำใจให้กับผู้ประกอบการในภายหลังได้ ดังนั้นก่อนที่คุณจะนำไอเดียอันบรรเจิดมาดัดแปลงเป็นธุรกิจบนโลกของความเป็นจริง ขอให้นำ้การคำนวณ ROI มาเป็นปัจจัยหนึ่งในการประกอบการตัดสินใจด้วยเพื่อลดความเสี่ยงของกิจการ
ที่มา http://incquity.com/articles/money-talk/roi-calculation
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น